ช่วงปิดเทอมหนึ่งซึ่งตรงกับเทศกาลปีใหม่ ผมจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดของตัวเองเสมอเพื่อร่วมเฉลิมฉลองฤดูกาลแห่งความสุขกับครอบครัว เช่นเดียวกันกับปีใหม่ที่ผ่านมา (2551) นอกจากผมจะกลับไปพบปะสังสรรค์กับสมาชิกในครอบครัวที่ห่างหน้ากันไปหลายเดือนแล้วผมยังมีโอกาสได้ไปเก็บข้อมูลเกี่ยวกับของกินและประเพณีของชาวไทยใหญ่จากภาคสนามอีกด้วย มูลเหตุดังกล่าวเกิดจากการที่คืนหนึ่งผมได้ไปเดินตระเวนบนถนนคนเดินรอบสวนสาธารณะหนองจองคำ อ. เมือง จ. แม่ฮ่องสอน ที่อยู่ไม่ห่างจากบ้านผมมากนัก ค่ำคืนนั้น ถนนคนเดินแออัดไปด้วยผู้คนมากมายเดินกันยุบยับไปหมด พ่อค้าแม่ค้านำสินค้าพื้นเมืองทั้งของกินและของฝากมาวางขายบนพื้นถนนเรียงรายเต็มสองฟากถนน ผมเดินชมไปเรื่อยเปื่อยพอเห็นสินค้าตัวไหนน่าสนใจก็แวะเลือกดูเผื่อจะได้ซื้อเป็นของติดไม้ติดมือไปฝากเพื่อน ๆ ที่วิทยาลัย พอเดินมาได้สักพักหนึ่งผมก็ได้ของฝากที่ถูกใจเป็นพวงกุญแจตุ๊กตาชนเผ่าตัวเล็ก ๆ ถามแม่ค้าวัยเลยกลางคนว่าชุดชนเผ่าแต่ละสีบนพวงกุญแจนั้นมีความหมายอะไรไหมเพราะเคยได้ยินได้ฟังมาว่าชุดแต่งกายของชาวเขาบางเผ่าพันธุ์นั้นจะแบ่งออกเป็นสี ๆ และแน่นอนว่าแต่ละสีย่อมมีความหมายของมันโดยเฉพาะชุดเสื้อผ้าของผู้หญิงอย่างเช่นผู้หญิงกะเหรี่ยงสะกอที่ยังไม่แต่งงานจะใส่ชุดสีขาวส่วนคนที่แต่งงานแล้วจะใส่สีแดง เมื่อแม่ค้าได้ยินคำถามดังกล่าวก็รีบส่ายหน้าเอ่ยบอกอย่างยิ้ม ๆ ว่าสีที่เห็นบนพวงกุญแจตุ๊กตาชนเผ่านั้นเป็นเพียงการตกแต่งสินค้าให้ดูโดดเด่นสวยงามเท่านั้นหาได้มีความหมายอะไรไม่ ได้ฟังดังนั้นผมก็ยิ้มออกมาแบบแห้ง ๆ พร้อมกับเกาหัวแกรก ๆ เมื่อยื่นเงินให้คนขายผมก็ตระเวนเดินต่อไป มาหยุดกึกอีกทีเมื่อเห็นการแสดงฟ้อนรำแบบไทยใหญ่บริเวณใกล้วัดจองกลางเรียกเสียงปรบมือจากนักท่องเที่ยวเกรียวใหญ่ การแสดงนั้นมีอยู่หลายชุดด้วยกัน บางชุดผู้แสดงสวมหน้ากากด้วย จากนั้นก็เดินเข้าไปในวัดจองกลาง ไปเห็นการปล่อยโคมลอยและ “จองพารา” หรือ ปราสาทพระจำลอง ที่ตั้งโชว์ไว้ใกล้จุดปล่อยโคมลอยมีพระเณรสี่ห้ารูปนั่งขายอยู่ เมื่อเดินออกมาจากวัดจองกลางก็ได้พบกับป้าไทยใหญ่คนหนึ่ง ชื่อ ป้ามะขิ่น ซึ่งผมรู้จักแกดีกำลังง่วนอยู่กับการขายของกินพื้นเมืองชาวไทยใหญ่ให้กับนักท่องเที่ยวที่ยืนอยู่หน้าร้านสี่ห้าคน นักท่องเที่ยวเหล่านั้นต่างสอบถามถึงของกินชนิดหนึ่งเป็นแผ่นสีเหลือง นุ่มนิ่ม น่าทาน ซึ่งป้ามะขิ่นเรียกมันว่า “ถั่วพูคั่ว” ป้าแกบอกว่ามันทำมาจากถั่วกาลาแปลักษณะคล้ายก้อนเต้าหู้สีเหลือง หั่นเป็นก้อนสี่เหลี่ยมบ้างสามเหลี่ยมบ้างพอคำแล้วนำมาทอด ได้ฟังดังนั้นทำให้ผมเกิดความสนใจ “เจ้าถั่วพูคั่ว” ขึ้นมาทันที จากนั้นผมก็แสดงความปรารถนาอยากให้ป้าแกเล่าถึงวิธีการทำอาหารชนิดนี้ให้ผมฟังอย่างละเอียดอีกทีในวันรุ่งขึ้น โดยการนัดหมายเวลากันไว้ที่บ่ายสองโมง ป้าแกตอบปากรับคำอย่างไม่อิดเอื้อน
เลิศรสอาหารไทยใหญ่
พอตกบ่ายวันนั้น ผมก็คว้ามอเตอร์ไซด์คู่ใจวิ่งตะบึงตะบันฉุยฉิวปลิวลมออกไปจากบ้านทันที บ้านป้ามะขิ่นอยู่ไม่ไกลจากบ้านผมมากนัก หลายปีก่อนผมเคยพาแม่มาบ้านป้าแกอยู่สองสามครั้งเพราะคุณแม่ผมกับป้ามะขิ่นสนิทกันแต่มาระยะหลังเมื่อผมต้องไปเรียนต่อยังต่างจังหวัดทำให้ผมไม่มีโอกาสแวะมาหาแกเวลาที่กลับมาเยี่ยมบ้านเหมือนเช่นเคย ป้ามะขิ่นอาศัยอยู่กับสามีที่ชื่อลุงเอ คุณแม่ผมได้แนะนำว่าถ้าอยากรู้เกี่ยวกับการทำ “จองพารา” ให้มาสอบถามแกได้ แกมีประสบการณ์ในด้านนี้อยู่ไม่น้อย
ไม่ถึงสิบนาที ผมก็ควบมอเตอร์ไซด์มาจอดพรืดตรงกำแพงหน้าบ้านป้ามะขิ่นซึ่งเป็นบ้านสองชั้นครึ่งปูนครึ่งไม้ พอเดินเข้าไปในบริเวณบ้านก็เห็นป้าแกกำลังสาละวนอยู่กับการเตรียมอาหารที่จะไปขายที่ถนนคนเดินในค่ำคืนนี้อยู่ในห้องครัวที่เปิดโล่งอยู่ด้านข้างของตัวบ้านชิดติดกำแพง ผมยกมือไหว้กล่าวสวัสดีเมื่อป้าแกเห็นหน้าผม ต่างไถ่ถามสารทุกข์สุกดิบกันและกันด้วยว่าคืนวานไม่มีเวลาพูดคุยกันมากมายนัก ผมเห็นถาดบรรจุแผ่นแป้งสี่เหลี่ยมสีเหลืองอ่อนถาดหนึ่งและในอีกถาดหนึ่งเป็นก้อนกลม ๆ สีขาววางอยู่บนโต๊ะใกล้กับที่ผมนั่งอยู่ จึงเอ่ยถามป้ามะขิ่นว่ามันคืออะไร ป้าแกบอกว่าเจ้าแผ่นสี่เหลี่ยมสีเหลืองนวลนั้นคือกากถั่วกาลาแปที่จะนำไปตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมหรือสามเหลี่ยมเล็ก ๆ แล้วนำไปทอดในกระทะน้ำมันร้อน ๆ กลายเป็น “เจ้าถั่วพูคั่ว” เลิศรส ส่วนเจ้าก้อนกลม ๆ สีขาวในอีกถาดหนึ่งนั้นคือส่วนที่เป็นน้ำแป้งถั่วกาลาแปที่ข้นเหนียวจับตัวกันเป็นก้อนเมื่อทิ้งไว้นาน ๆ พอเล่ามาถึงตรงนี้ ผมเลยถือโอกาสขอให้ป้าแกช่วยอธิบายขั้นตอนการทำ “เจ้าถั่วพูคั่ว” ตั้งแต่ขั้นเตรียมการจนสิ้นสุดให้กระจ่างอีกทีเผื่อว่าผมจะได้เอาไปลองฝึกทำดูที่บ้านหรือที่โรงเรียนเมื่อโอกาสอำนวย
ป้ามะขิ่นเริ่มสาธยายพลางทำงานของแกไปด้วย แกบอกว่าเครื่องปรุงถั่วพูคั่วนั้นประกอบไปด้วย ถั่วกาลาแปซึ่งเป็นพระเอกของกินเล่นไทยใหญ่ประเภทนี้ ถั่วกาลาแปนั้นผลิตในพม่าชาวไทยใหญ่ตลอดจนชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่น ๆ นิยมนำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนู นอกจากเจ้าถั่วกาลาแปแล้วเครื่องปรุงรสอย่างอื่นที่ขาดไม่ได้ก็คือเกลือและผงชูรสที่จะทำให้รสชาติกลมกล่อมยิ่งขึ้น สิ่งจำเป็นที่จะต้องมีอีกอย่างหนึ่งก็คือ เครื่องโม่ใช้สำหรับโม่เจ้าถั่วกาลาแป ป้ามะขิ่นเงียบไปพักหนึ่งเพื่อเติมเครื่องแกงลงในหม้อมะละกอดิบที่หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ คลุกแป้งข้าวเจ้าผสมข้าวเหนียวเรียกว่า “ข่างปอง” หรือ มะละกอชุบแป้งทอด อาหารไทยใหญ่อีกเมนูหนึ่งที่แกทำขายที่ถนนคนเดินและผมก็เคยลิ้มรสอาหารพื้นถิ่นนี้อยู่บ่อยครั้ง จากนั้นป้าแกก็เล่าต่อ แรกเริ่มในการทำ “ถั่วพูคั่ว” ก็คือการเตรียมถั่วกาลาแปที่แช่น้ำ 2 ชั่วโมงไว้ให้พร้อม จากนั้นนำไปโม่ด้วยเครื่องโม่ เอาถั่วกาลาแปที่โม่ละเอียดแล้วมากรองด้วยผ้าขาวบางสามครั้งจนได้กากถั่วกาลาแปที่ละเอียดนุ่ม ทิ้งไว้ประมาณชั่วโมงครึ่งแล้วนำไปเทใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ตั้งบนไฟอ่อน หมั่นคนตลอดเวลา จนเดือด เทส่วนที่เป็นน้ำลงในถาดลึกใบหนึ่งส่วนที่เป็นกากก็เติมเกลือหรือผงชูรสลงไปแล้วคนให้เข้ากันจากนั้นก็เทลงในถาดสี่เหลี่ยมลึกอีกใบเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการอันสำคัญที่สุดสำหรับการทำ “ถั่วพูคั่ว” เพราะวิธีการที่เหลือนั้นไม่ยุ่งยากนักเพียงแค่นำเจ้าแผ่นแป้งกาลาแปสีเหลืองนวลนั้นไปหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมหรือสามเหลี่ยมแล้วทอดในกระทะน้ำมันร้อน ๆ เพียงแค่นี้ของกินเลิศรสชาวไทยใหญ่ชนิดนี้ก็พร้อมเสริฟได้ทันทีหรือจะจิ้มกินกับน้ำจิ้มรสเด็ดก็ยิ่งเพิ่มรสชาติมากขึ้น ป้ามะขิ่นยังบอกอีกว่าไม่นานมานี้มีคนกรุงเทพฯ และนักเรียนมาถามแกเกี่ยวกับวิธีการทำ “ถั่วพูคั่ว” แกก็อธิบายวิธีการทำของแกไปแต่พวกนั้นไม่เข้าใจแจ่มแจ้งบอกว่ายากไป แกต้องลงมือทำทีละขั้นตอนพร้อมกับเขียนวิธีการทำลงในสมุดหลายหน้ากระดาษจนแล้วจนรอดพวกนั้นก็ยังทำได้ไม่ดีนัก แกว่าแกคงเป็นครูสอนที่ไม่ดีพอ ผมถามแกว่านอกจากขาย “ถั่วพูคั่ว” กับ “ข่างป่อง” แล้วยังขายอะไรอีกไหม แกบอกว่าแกขายข้าวซอย ข้าวเส้น (ขนมจีนน้ำเงี้ยว) ด้วย แล้วกล่าวเพิ่มเติมว่าช่วงนี้แกขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเพราะมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาอุดหนุนมากมาย โดยเฉพาะ เจ้าข่างปอง ที่พวกฝรั่งอั้งหม้อติดใจรสชาติเหลือล้น มาซื้อกินทุกคืน ระหว่างที่สนทนากันอยู่นั้น ลุงเอ ก็ลงมาจากบ้าน เห็นดังนั้นผมรีบยกมือไหว้กล่าวทักทายทันที พูดคุยจิปาถะกันได้สักพักผมก็เอ่ยถามลุงแกถึงความตั้งใจอีกอย่างหนึ่งในการมาพบปะพูดคุยวันนี้ นั่นก็คือเรื่องราวเกี่ยวกับ “จองพารา” หรือปราสาทพระจำลอง พอบอกกล่าวให้แกรู้ แกก็บอกว่าแกเองไม่สันทัดในเรื่องนี้มากนักเพราะตะแกเป็นแค่ผู้ช่วยคนอื่นในการทำจองพาราเท่านั้น แล้วแนะนำให้ผมไปหา “ตุ๊ปี” หลวงพี่ที่วัดจองกลาง วัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอนตั้งอยู่กลางใจเมืองติดหนองจองคำ ได้รับคำแนะนำดังนั้นผมก็กล่าวขอบคุณลุงเอและป้ามะขิ่นก่อนเอ่ยคำลาจากไปพร้อมย้ำบอกป้ามะขิ่นว่าคืนนี้จะไปอุดหนุนที่ร้าน
ประเพณีไตอันทรงคุณค่า
พอวันรุ่งขึ้น ผมควบมอเตอร์ไซด์เจ้าเก่าบึ่งไปวัดจองกลางพร้อมกับแม่ที่จะไปช่วยงาน “แฮนซอมโก่จา” ซึ่งเป็นงานทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้กับคนที่เสียชีวิตแล้วจัดโดยท่านเจ้าอาวาสวัดจองกลางเพื่อทำบุญให้กับโยมแม่ของท่านที่เสียไปได้ปีกว่าแล้วและครั้งนี้เป็นครั้งที่สามที่ทางเจ้าอาวาสจัดงาน “แฮนซอมโก่จา” ไปให้โยมแม่ของท่าน ครั้งล่าสุดจัดเมื่อช่วงออกพรรษาที่ผ่านมา พอไปถึงที่วัดก็เห็นผู้สูงอายุอยู่กลุ่มหนึ่งกำลังช่วยกันเตรียมทำกับข้าวอยู่บนระเบียงวัดใกล้กับศาลาการเปรียญ จากนั้นแม่ผมก็ปลีกตัวไปช่วยพวกป้าเหล่านั้นซึ่งล้วนรู้จักกันดีส่วนผมก็เดินเข้าไปถามท่านเจ้าอาวาสว่าตุ๊ปีอยู่หรือเปล่า ท่านบอกว่าไม่รู้แล้วให้ผมเดินไปหาเองที่กุฏิของท่านด้านหลังวัดติดโรงครัว ผมเดินลงมาจากวัดแล้วมายืนเก้ ๆ กัง ๆ อยู่หน้าโรงครัวเห็นเณรรูปหนึ่งเดินผ่านมาจึงเอ่ยถามถึงกุฏิของตุ๊ปี เณรน้อยรูปนั้นก็บุ้ยมือไปทางซอยเล็ก ๆ แต่ผมยังคงทำหน้าสงสัยอยู่ เณรเห็นดังนั้นจึงขันอาสาพาไปที่กุฏิของท่านด้วยตัวเองเมื่อไปถีงที่กุฏิของตุ๊ปีก็ปรากฏว่าไม่พบตัวท่านจึงบอกเณรว่าเดียวตอนบ่ายจะกลับมาหาอีกครั้ง หลังจากพระฉันเพลและแม่ก็กลับมาถึงบ้านแล้ว ผมจึงไปหาตุ๊ปีที่วัดอีกหน เมื่อจอดมอเตอร์ไซด์ทิ้งไว้ตรงบริเวณใกล้กับศาลาการเปรียญของวัดแล้ว ผมจึงเดินเข้าไปหาท่านที่กุฏิ และในที่สุดผมก็ได้พบกับตุ๊ปี จากนั้นเอ่ยบอกถึงจุดประสงค์ในการมาขอพบท่านมิวายอ้างถึงลุงเอและป้ามะขิ่นที่แนะนำมาสู่แหล่งอ้างอิงในวันนี้ เมื่อตุ๊ปีรับทราบเช่นนั้น จึงพาผมมาพูดคุยวิสาสะตรงบ่อน้ำหน้าวัดใกล้กันนั้นเป็น “จองพารา” ตั้งเด่นสง่าอวดโฉมนักท่องเที่ยวที่มีทุกวันและเป็นจุดที่วางขายโคมลอยในเวลาค่ำคืนยามที่ถนนคนเดินด้านหน้าวัดพลุกพล่านไปด้วยนักท่องเที่ยว ตรงข้ามกับจองพาราเป็นองค์เจดีย์ทรงเครื่องแบบมอญบนยอดประดับฉัตรสามชั้นภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แดดยามบ่ายไม่เจิดจ้าสักเท่าไหร่ ลมพัดกรูเกรียวมาเป็นระยะกระทบกระดิ่งที่แขวนไว้โดยรอบยอดฉัตรองค์พระเจดีย์กรุ๋งกริ๋ง อากาศเป็นใจเช่นนี้ช่างเหมาะแก่การนั่งพูดคุยกับผู้รู้เรื่องประเพณีการสร้างจองพารายิ่งนัก
ตุ๊ปีเล่าว่าการสร้างจองพารานั้นเพื่อเป็นพุทธบูชาตามความเชื่อเรื่องการรับเสด็จพระพุทธเจ้ากลับสู่โลกมนุษย์ หลังจากพระองค์ได้เสด็จขึ้นไปเทศนาโปรดพระมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในช่วงเข้าพรรษา เทศกาลนี้จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 ชาวไทยใหญ่เชื่อว่าการได้จัดทำจองพาราเพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้าที่บ้านของตัวเองนั้นจะทำให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ได้บุญกุศลและยังผลให้การประกอบอาชีพเกิดความสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย ด้วยเหตุนั้นเราจะเห็นจองพาราถูกยกขึ้นไว้นอกชายคา นอกรั้ว หรือบริเวณกลางลานทั้งที่บ้านและที่วัด จากนั้นจะมีการถวายข้าวที่จองพาราวันละครั้งและจุดเทียนหรือประทีบโคมไฟตลอดระยะเวลาของการจัดงานตั้งแต่แรม 1 ค่ำไปจนถึงแรม 8 ค่ำ ตลอดช่วงเทศกาล จะมีการละเล่นเฉลิมฉลองหลายชนิด เช่น ฟ้อนโต ฟ้อนรูปสัตว์ต่างๆ ฟ้อนก้าแลว (ฟ้อนดาบ)เฮ็ดกวามหรือการร่ายกลอน ฯลฯ ตามถนนหนทางและบ้านเรือนต่างๆ เป็นการละเล่นที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อว่าสัตว์โลกและสัตว์หิมพานต์พากันรื่นเริงยินดีออกมาร่ายรำรับเสด็จพระพุทธเจ้า เมื่อแจ้งในจุดประสงค์การจัดทำจองพาราแล้ว ผมก็เอ่ยถามตุ๊ปีว่าการสร้างจองพารานั้นยากหรือไม่หลวงพี่ท่านตอบฉะฉานว่าบรมยากน่าดูเพราะว่ามากด้วยขั้นตอนและรายละเอียดที่ต้องใช้ฝีมืออย่าประณีตไม่ว่าจะเป็นการทำโครงด้วยไม้ไผ่ การตกแต่งลวดลายด้วยกระดาษสาหรือกระดาษสีอื่น ๆ การประดับตกแต่งด้วย หน่อกล้วย อ้อย และ โคมไฟ เหล่านี้ล้วนอาศัยความรู้ความชำนาญทั้งสิ้น ตุ๊ปีเสริมว่าทุก ๆ ปีทางวัดจองกลางจะส่งผลงานชิ้นนี้เข้าร่วมการประกวดในขบวนแห่จองพาราโดยมีหัวเรี่ยวหัวแรงอย่างตุ๊ปีเป็นโต้โผใหญ่ในการจัดทำปราสาทพระจำลองนี้ ทางวัดมิได้มุ่งเน้นไปที่รางวัลที่จะได้รับจากกองประกวดแต่เพื่อธำรงรักษาประเพณีดีงามอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนนี้ไว้สืบไปและเพื่อนำไปจัดแสดงไว้ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เห็นถึงความศรัทธาของชาวไทยใหญ่ที่มีต่อพระพุทธศาสนา เมื่อได้ฟังตุ๊ปีอธิบายดังนั้น ผมจึงเห็นแจ้งถึงความสำคัญของประเพณีการสร้างจองพารานี้อย่างไม่มีข้อสงสัยใด ๆ ทั้งสิ้น ความเชื่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนานั้นคืออัตลักษณ์ของชาวไทยใหญ่โดยแท้จริง เราจะเห็นได้ว่างานประเพณีต่าง ๆ ของชาวไทยใหญ่ในรอบหนึ่งปีนั้นล้วนเกี่ยวข้องกับศาสนาทั้งสิ้นไล่มาตั้งแต่ ปอยจ่าตี่หรืองานประเพณีบูชาเจดีย์ทราย ขึ้นจองปีใหม่หรืองานประเพณีทำบุญขึ้นวันปีใหม่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ การกั่นตอหรือประเพณีการขอขมาต่อผู้สูงอายุ พ่อแม่ และพระสงฆ์ ปอยส่างลองหรืองานประเพณีบวชลูกแก้ว ต่างซอมต่อหรือประเพณีการถวายข้าวมธุปายาสแก่วัดที่ชาวบ้านศรัทธา แห่ต้นเกี๊ยะหรืองานประเพณีถวายต้นสนพร้อมด้วยเทียนไขหลายพันเล่มและเครื่องไทยทานแก่วัด ปอยเหลินสิบเอ็ดหรือประเพณีทำบุญออกพรรษา และ แห่จองพารางานประเพณีทำปราสาทพระจำลองเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าชาวไทยใหญ่นั้นถือเป็นพุทธศาสนิกชนที่มีความศรัทธาอย่างแรงกล้าทีเดียว นอกจากตุ๊ปีจะชำนาญในเรื่องการทำจองพาราแล้ว ท่านยังทำโคมลอยขายให้นักท่องเที่ยวด้วยเพื่อนำรายได้เข้าวัด โดยเฉพาะช่วงนี้ที่เป็นฤดูท่องเที่ยวจะมีนักท่องเที่ยวมากมายมาเดินตระเวนบนถนนคนเดินและแวะเข้ามาบริเวณวัดเมื่อเห็นมีโคมลอยวางขายก็จะซื้อปล่อยกัน เมื่อถึงเวลาแล้วอันสมควรผมก็กราบนมัสการลาตุ๊ปี
วันนี้ผมค้นพบอย่างหนึ่งว่า ณ เมืองสามหมอกบ้านเกิดของผมแห่งนี้ยังมีความเป็นไทยใหญ่รอให้ผมสัมผัสอีกมากมาย
คือ “สมบัติโลก” ที่ทุกคนควรรักษา
ตะวันรอนทอดทอแสงอ่อนๆ อยู่ตรงปลายฟ้า ความครึกครื้นเริ่มปรากฏตรงถนนคนเดินรอบหนองจองคำเมื่อพ่อค้าแม่ขายกุลีกุจอจัดข้าวเรียงของหน้าร้านเพื่อต้อนรับทั้งนักท่องเที่ยวและคนท้องถิ่นที่คงจะมากันมากมายในค่ำคืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของปีนี้ ลมหนาวพัดพรูมาบางเบาต้องกับน้ำในหนองจองคำสั่นระริกแลเห็นฝูงปลาเล็กใหญ่วูบไหวอยู่ใต้น้ำ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติกำลังเพลิดเพลินให้อาหารปลาอยู่ตรงศาลาริมหนอง บนถนนเลียบหนองด้านหน้าวัดจองกลางป้ามะขิ่นกับลุงเอกำลังนำ “ถั่วพูคั่ว” และของกินไทยใหญ่อื่น ๆ ออกมาวางขายหน้าร้านอย่างแข็งขัน ส่วนตุ๊ปีพร้อมกับพระเณรรูปอื่น ๆ กำลังยุ่งอยู่กับการจัดเรียงโคมลอยอยู่ตรงโต๊ะภายในวัดจองกลางบริเวณที่ผมได้ไปนั่งพูดคุยกับหลวงพี่ท่านเมื่อบ่ายวันนี้ การได้พูดคุยกับผู้รู้ทั้งสอง ป้ามะขิ่นและตุ๊ปี นอกจากจะได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารการกินของชาวไทยใหญ่และประเพณีการทำจองพาราแล้ว ผมยังสัมผัสถึงงานศิลปะของความพิถีพิถันในการสรรสร้างความเป็นไทยใหญ่ให้ก่อเกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของกลุ่มชนที่ร่ำรวยด้วยพลังศรัทธาในพระพุทธศาสนา นอกจากนั้น วัฒนธรรมประเพณีเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวไทยใหญ่ได้อย่างชัดเจน การได้ลองพูดคุยกับชาวไทยใหญ่หรือชนกลุ่มอื่นถึงสิ่งที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ที่เด่นชัด เราจะค้นพบว่าคุณค่าวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละชาติพันธ์นั้นล้วนน่าศึกษาและต้องอนุรักษ์ไว้อย่างเหนียวแน่นด้วยชีวิตจิตใจ ไม่ควรเฉพาะเจาะจงไปว่าจะต้องเป็นหน้าที่รับผิดชอบของกลุ่มคนที่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีนั้นนั้นอย่างเดียวแต่ทุกคนล้วนมีส่วนรับผิดชอบร่วมกันในการรักษา “สมบัติโลก” นี้ไว้เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็น “มนุษย์ผู้มีอารยธรรม”โดยแท้จริง.
เลิศรสอาหารไทยใหญ่
พอตกบ่ายวันนั้น ผมก็คว้ามอเตอร์ไซด์คู่ใจวิ่งตะบึงตะบันฉุยฉิวปลิวลมออกไปจากบ้านทันที บ้านป้ามะขิ่นอยู่ไม่ไกลจากบ้านผมมากนัก หลายปีก่อนผมเคยพาแม่มาบ้านป้าแกอยู่สองสามครั้งเพราะคุณแม่ผมกับป้ามะขิ่นสนิทกันแต่มาระยะหลังเมื่อผมต้องไปเรียนต่อยังต่างจังหวัดทำให้ผมไม่มีโอกาสแวะมาหาแกเวลาที่กลับมาเยี่ยมบ้านเหมือนเช่นเคย ป้ามะขิ่นอาศัยอยู่กับสามีที่ชื่อลุงเอ คุณแม่ผมได้แนะนำว่าถ้าอยากรู้เกี่ยวกับการทำ “จองพารา” ให้มาสอบถามแกได้ แกมีประสบการณ์ในด้านนี้อยู่ไม่น้อย
ไม่ถึงสิบนาที ผมก็ควบมอเตอร์ไซด์มาจอดพรืดตรงกำแพงหน้าบ้านป้ามะขิ่นซึ่งเป็นบ้านสองชั้นครึ่งปูนครึ่งไม้ พอเดินเข้าไปในบริเวณบ้านก็เห็นป้าแกกำลังสาละวนอยู่กับการเตรียมอาหารที่จะไปขายที่ถนนคนเดินในค่ำคืนนี้อยู่ในห้องครัวที่เปิดโล่งอยู่ด้านข้างของตัวบ้านชิดติดกำแพง ผมยกมือไหว้กล่าวสวัสดีเมื่อป้าแกเห็นหน้าผม ต่างไถ่ถามสารทุกข์สุกดิบกันและกันด้วยว่าคืนวานไม่มีเวลาพูดคุยกันมากมายนัก ผมเห็นถาดบรรจุแผ่นแป้งสี่เหลี่ยมสีเหลืองอ่อนถาดหนึ่งและในอีกถาดหนึ่งเป็นก้อนกลม ๆ สีขาววางอยู่บนโต๊ะใกล้กับที่ผมนั่งอยู่ จึงเอ่ยถามป้ามะขิ่นว่ามันคืออะไร ป้าแกบอกว่าเจ้าแผ่นสี่เหลี่ยมสีเหลืองนวลนั้นคือกากถั่วกาลาแปที่จะนำไปตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมหรือสามเหลี่ยมเล็ก ๆ แล้วนำไปทอดในกระทะน้ำมันร้อน ๆ กลายเป็น “เจ้าถั่วพูคั่ว” เลิศรส ส่วนเจ้าก้อนกลม ๆ สีขาวในอีกถาดหนึ่งนั้นคือส่วนที่เป็นน้ำแป้งถั่วกาลาแปที่ข้นเหนียวจับตัวกันเป็นก้อนเมื่อทิ้งไว้นาน ๆ พอเล่ามาถึงตรงนี้ ผมเลยถือโอกาสขอให้ป้าแกช่วยอธิบายขั้นตอนการทำ “เจ้าถั่วพูคั่ว” ตั้งแต่ขั้นเตรียมการจนสิ้นสุดให้กระจ่างอีกทีเผื่อว่าผมจะได้เอาไปลองฝึกทำดูที่บ้านหรือที่โรงเรียนเมื่อโอกาสอำนวย
ป้ามะขิ่นเริ่มสาธยายพลางทำงานของแกไปด้วย แกบอกว่าเครื่องปรุงถั่วพูคั่วนั้นประกอบไปด้วย ถั่วกาลาแปซึ่งเป็นพระเอกของกินเล่นไทยใหญ่ประเภทนี้ ถั่วกาลาแปนั้นผลิตในพม่าชาวไทยใหญ่ตลอดจนชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่น ๆ นิยมนำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนู นอกจากเจ้าถั่วกาลาแปแล้วเครื่องปรุงรสอย่างอื่นที่ขาดไม่ได้ก็คือเกลือและผงชูรสที่จะทำให้รสชาติกลมกล่อมยิ่งขึ้น สิ่งจำเป็นที่จะต้องมีอีกอย่างหนึ่งก็คือ เครื่องโม่ใช้สำหรับโม่เจ้าถั่วกาลาแป ป้ามะขิ่นเงียบไปพักหนึ่งเพื่อเติมเครื่องแกงลงในหม้อมะละกอดิบที่หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ คลุกแป้งข้าวเจ้าผสมข้าวเหนียวเรียกว่า “ข่างปอง” หรือ มะละกอชุบแป้งทอด อาหารไทยใหญ่อีกเมนูหนึ่งที่แกทำขายที่ถนนคนเดินและผมก็เคยลิ้มรสอาหารพื้นถิ่นนี้อยู่บ่อยครั้ง จากนั้นป้าแกก็เล่าต่อ แรกเริ่มในการทำ “ถั่วพูคั่ว” ก็คือการเตรียมถั่วกาลาแปที่แช่น้ำ 2 ชั่วโมงไว้ให้พร้อม จากนั้นนำไปโม่ด้วยเครื่องโม่ เอาถั่วกาลาแปที่โม่ละเอียดแล้วมากรองด้วยผ้าขาวบางสามครั้งจนได้กากถั่วกาลาแปที่ละเอียดนุ่ม ทิ้งไว้ประมาณชั่วโมงครึ่งแล้วนำไปเทใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ตั้งบนไฟอ่อน หมั่นคนตลอดเวลา จนเดือด เทส่วนที่เป็นน้ำลงในถาดลึกใบหนึ่งส่วนที่เป็นกากก็เติมเกลือหรือผงชูรสลงไปแล้วคนให้เข้ากันจากนั้นก็เทลงในถาดสี่เหลี่ยมลึกอีกใบเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการอันสำคัญที่สุดสำหรับการทำ “ถั่วพูคั่ว” เพราะวิธีการที่เหลือนั้นไม่ยุ่งยากนักเพียงแค่นำเจ้าแผ่นแป้งกาลาแปสีเหลืองนวลนั้นไปหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมหรือสามเหลี่ยมแล้วทอดในกระทะน้ำมันร้อน ๆ เพียงแค่นี้ของกินเลิศรสชาวไทยใหญ่ชนิดนี้ก็พร้อมเสริฟได้ทันทีหรือจะจิ้มกินกับน้ำจิ้มรสเด็ดก็ยิ่งเพิ่มรสชาติมากขึ้น ป้ามะขิ่นยังบอกอีกว่าไม่นานมานี้มีคนกรุงเทพฯ และนักเรียนมาถามแกเกี่ยวกับวิธีการทำ “ถั่วพูคั่ว” แกก็อธิบายวิธีการทำของแกไปแต่พวกนั้นไม่เข้าใจแจ่มแจ้งบอกว่ายากไป แกต้องลงมือทำทีละขั้นตอนพร้อมกับเขียนวิธีการทำลงในสมุดหลายหน้ากระดาษจนแล้วจนรอดพวกนั้นก็ยังทำได้ไม่ดีนัก แกว่าแกคงเป็นครูสอนที่ไม่ดีพอ ผมถามแกว่านอกจากขาย “ถั่วพูคั่ว” กับ “ข่างป่อง” แล้วยังขายอะไรอีกไหม แกบอกว่าแกขายข้าวซอย ข้าวเส้น (ขนมจีนน้ำเงี้ยว) ด้วย แล้วกล่าวเพิ่มเติมว่าช่วงนี้แกขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเพราะมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาอุดหนุนมากมาย โดยเฉพาะ เจ้าข่างปอง ที่พวกฝรั่งอั้งหม้อติดใจรสชาติเหลือล้น มาซื้อกินทุกคืน ระหว่างที่สนทนากันอยู่นั้น ลุงเอ ก็ลงมาจากบ้าน เห็นดังนั้นผมรีบยกมือไหว้กล่าวทักทายทันที พูดคุยจิปาถะกันได้สักพักผมก็เอ่ยถามลุงแกถึงความตั้งใจอีกอย่างหนึ่งในการมาพบปะพูดคุยวันนี้ นั่นก็คือเรื่องราวเกี่ยวกับ “จองพารา” หรือปราสาทพระจำลอง พอบอกกล่าวให้แกรู้ แกก็บอกว่าแกเองไม่สันทัดในเรื่องนี้มากนักเพราะตะแกเป็นแค่ผู้ช่วยคนอื่นในการทำจองพาราเท่านั้น แล้วแนะนำให้ผมไปหา “ตุ๊ปี” หลวงพี่ที่วัดจองกลาง วัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอนตั้งอยู่กลางใจเมืองติดหนองจองคำ ได้รับคำแนะนำดังนั้นผมก็กล่าวขอบคุณลุงเอและป้ามะขิ่นก่อนเอ่ยคำลาจากไปพร้อมย้ำบอกป้ามะขิ่นว่าคืนนี้จะไปอุดหนุนที่ร้าน
ประเพณีไตอันทรงคุณค่า
พอวันรุ่งขึ้น ผมควบมอเตอร์ไซด์เจ้าเก่าบึ่งไปวัดจองกลางพร้อมกับแม่ที่จะไปช่วยงาน “แฮนซอมโก่จา” ซึ่งเป็นงานทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้กับคนที่เสียชีวิตแล้วจัดโดยท่านเจ้าอาวาสวัดจองกลางเพื่อทำบุญให้กับโยมแม่ของท่านที่เสียไปได้ปีกว่าแล้วและครั้งนี้เป็นครั้งที่สามที่ทางเจ้าอาวาสจัดงาน “แฮนซอมโก่จา” ไปให้โยมแม่ของท่าน ครั้งล่าสุดจัดเมื่อช่วงออกพรรษาที่ผ่านมา พอไปถึงที่วัดก็เห็นผู้สูงอายุอยู่กลุ่มหนึ่งกำลังช่วยกันเตรียมทำกับข้าวอยู่บนระเบียงวัดใกล้กับศาลาการเปรียญ จากนั้นแม่ผมก็ปลีกตัวไปช่วยพวกป้าเหล่านั้นซึ่งล้วนรู้จักกันดีส่วนผมก็เดินเข้าไปถามท่านเจ้าอาวาสว่าตุ๊ปีอยู่หรือเปล่า ท่านบอกว่าไม่รู้แล้วให้ผมเดินไปหาเองที่กุฏิของท่านด้านหลังวัดติดโรงครัว ผมเดินลงมาจากวัดแล้วมายืนเก้ ๆ กัง ๆ อยู่หน้าโรงครัวเห็นเณรรูปหนึ่งเดินผ่านมาจึงเอ่ยถามถึงกุฏิของตุ๊ปี เณรน้อยรูปนั้นก็บุ้ยมือไปทางซอยเล็ก ๆ แต่ผมยังคงทำหน้าสงสัยอยู่ เณรเห็นดังนั้นจึงขันอาสาพาไปที่กุฏิของท่านด้วยตัวเองเมื่อไปถีงที่กุฏิของตุ๊ปีก็ปรากฏว่าไม่พบตัวท่านจึงบอกเณรว่าเดียวตอนบ่ายจะกลับมาหาอีกครั้ง หลังจากพระฉันเพลและแม่ก็กลับมาถึงบ้านแล้ว ผมจึงไปหาตุ๊ปีที่วัดอีกหน เมื่อจอดมอเตอร์ไซด์ทิ้งไว้ตรงบริเวณใกล้กับศาลาการเปรียญของวัดแล้ว ผมจึงเดินเข้าไปหาท่านที่กุฏิ และในที่สุดผมก็ได้พบกับตุ๊ปี จากนั้นเอ่ยบอกถึงจุดประสงค์ในการมาขอพบท่านมิวายอ้างถึงลุงเอและป้ามะขิ่นที่แนะนำมาสู่แหล่งอ้างอิงในวันนี้ เมื่อตุ๊ปีรับทราบเช่นนั้น จึงพาผมมาพูดคุยวิสาสะตรงบ่อน้ำหน้าวัดใกล้กันนั้นเป็น “จองพารา” ตั้งเด่นสง่าอวดโฉมนักท่องเที่ยวที่มีทุกวันและเป็นจุดที่วางขายโคมลอยในเวลาค่ำคืนยามที่ถนนคนเดินด้านหน้าวัดพลุกพล่านไปด้วยนักท่องเที่ยว ตรงข้ามกับจองพาราเป็นองค์เจดีย์ทรงเครื่องแบบมอญบนยอดประดับฉัตรสามชั้นภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แดดยามบ่ายไม่เจิดจ้าสักเท่าไหร่ ลมพัดกรูเกรียวมาเป็นระยะกระทบกระดิ่งที่แขวนไว้โดยรอบยอดฉัตรองค์พระเจดีย์กรุ๋งกริ๋ง อากาศเป็นใจเช่นนี้ช่างเหมาะแก่การนั่งพูดคุยกับผู้รู้เรื่องประเพณีการสร้างจองพารายิ่งนัก
ตุ๊ปีเล่าว่าการสร้างจองพารานั้นเพื่อเป็นพุทธบูชาตามความเชื่อเรื่องการรับเสด็จพระพุทธเจ้ากลับสู่โลกมนุษย์ หลังจากพระองค์ได้เสด็จขึ้นไปเทศนาโปรดพระมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในช่วงเข้าพรรษา เทศกาลนี้จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 ชาวไทยใหญ่เชื่อว่าการได้จัดทำจองพาราเพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้าที่บ้านของตัวเองนั้นจะทำให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ได้บุญกุศลและยังผลให้การประกอบอาชีพเกิดความสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย ด้วยเหตุนั้นเราจะเห็นจองพาราถูกยกขึ้นไว้นอกชายคา นอกรั้ว หรือบริเวณกลางลานทั้งที่บ้านและที่วัด จากนั้นจะมีการถวายข้าวที่จองพาราวันละครั้งและจุดเทียนหรือประทีบโคมไฟตลอดระยะเวลาของการจัดงานตั้งแต่แรม 1 ค่ำไปจนถึงแรม 8 ค่ำ ตลอดช่วงเทศกาล จะมีการละเล่นเฉลิมฉลองหลายชนิด เช่น ฟ้อนโต ฟ้อนรูปสัตว์ต่างๆ ฟ้อนก้าแลว (ฟ้อนดาบ)เฮ็ดกวามหรือการร่ายกลอน ฯลฯ ตามถนนหนทางและบ้านเรือนต่างๆ เป็นการละเล่นที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อว่าสัตว์โลกและสัตว์หิมพานต์พากันรื่นเริงยินดีออกมาร่ายรำรับเสด็จพระพุทธเจ้า เมื่อแจ้งในจุดประสงค์การจัดทำจองพาราแล้ว ผมก็เอ่ยถามตุ๊ปีว่าการสร้างจองพารานั้นยากหรือไม่หลวงพี่ท่านตอบฉะฉานว่าบรมยากน่าดูเพราะว่ามากด้วยขั้นตอนและรายละเอียดที่ต้องใช้ฝีมืออย่าประณีตไม่ว่าจะเป็นการทำโครงด้วยไม้ไผ่ การตกแต่งลวดลายด้วยกระดาษสาหรือกระดาษสีอื่น ๆ การประดับตกแต่งด้วย หน่อกล้วย อ้อย และ โคมไฟ เหล่านี้ล้วนอาศัยความรู้ความชำนาญทั้งสิ้น ตุ๊ปีเสริมว่าทุก ๆ ปีทางวัดจองกลางจะส่งผลงานชิ้นนี้เข้าร่วมการประกวดในขบวนแห่จองพาราโดยมีหัวเรี่ยวหัวแรงอย่างตุ๊ปีเป็นโต้โผใหญ่ในการจัดทำปราสาทพระจำลองนี้ ทางวัดมิได้มุ่งเน้นไปที่รางวัลที่จะได้รับจากกองประกวดแต่เพื่อธำรงรักษาประเพณีดีงามอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนนี้ไว้สืบไปและเพื่อนำไปจัดแสดงไว้ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เห็นถึงความศรัทธาของชาวไทยใหญ่ที่มีต่อพระพุทธศาสนา เมื่อได้ฟังตุ๊ปีอธิบายดังนั้น ผมจึงเห็นแจ้งถึงความสำคัญของประเพณีการสร้างจองพารานี้อย่างไม่มีข้อสงสัยใด ๆ ทั้งสิ้น ความเชื่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนานั้นคืออัตลักษณ์ของชาวไทยใหญ่โดยแท้จริง เราจะเห็นได้ว่างานประเพณีต่าง ๆ ของชาวไทยใหญ่ในรอบหนึ่งปีนั้นล้วนเกี่ยวข้องกับศาสนาทั้งสิ้นไล่มาตั้งแต่ ปอยจ่าตี่หรืองานประเพณีบูชาเจดีย์ทราย ขึ้นจองปีใหม่หรืองานประเพณีทำบุญขึ้นวันปีใหม่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ การกั่นตอหรือประเพณีการขอขมาต่อผู้สูงอายุ พ่อแม่ และพระสงฆ์ ปอยส่างลองหรืองานประเพณีบวชลูกแก้ว ต่างซอมต่อหรือประเพณีการถวายข้าวมธุปายาสแก่วัดที่ชาวบ้านศรัทธา แห่ต้นเกี๊ยะหรืองานประเพณีถวายต้นสนพร้อมด้วยเทียนไขหลายพันเล่มและเครื่องไทยทานแก่วัด ปอยเหลินสิบเอ็ดหรือประเพณีทำบุญออกพรรษา และ แห่จองพารางานประเพณีทำปราสาทพระจำลองเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าชาวไทยใหญ่นั้นถือเป็นพุทธศาสนิกชนที่มีความศรัทธาอย่างแรงกล้าทีเดียว นอกจากตุ๊ปีจะชำนาญในเรื่องการทำจองพาราแล้ว ท่านยังทำโคมลอยขายให้นักท่องเที่ยวด้วยเพื่อนำรายได้เข้าวัด โดยเฉพาะช่วงนี้ที่เป็นฤดูท่องเที่ยวจะมีนักท่องเที่ยวมากมายมาเดินตระเวนบนถนนคนเดินและแวะเข้ามาบริเวณวัดเมื่อเห็นมีโคมลอยวางขายก็จะซื้อปล่อยกัน เมื่อถึงเวลาแล้วอันสมควรผมก็กราบนมัสการลาตุ๊ปี
วันนี้ผมค้นพบอย่างหนึ่งว่า ณ เมืองสามหมอกบ้านเกิดของผมแห่งนี้ยังมีความเป็นไทยใหญ่รอให้ผมสัมผัสอีกมากมาย
คือ “สมบัติโลก” ที่ทุกคนควรรักษา
ตะวันรอนทอดทอแสงอ่อนๆ อยู่ตรงปลายฟ้า ความครึกครื้นเริ่มปรากฏตรงถนนคนเดินรอบหนองจองคำเมื่อพ่อค้าแม่ขายกุลีกุจอจัดข้าวเรียงของหน้าร้านเพื่อต้อนรับทั้งนักท่องเที่ยวและคนท้องถิ่นที่คงจะมากันมากมายในค่ำคืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของปีนี้ ลมหนาวพัดพรูมาบางเบาต้องกับน้ำในหนองจองคำสั่นระริกแลเห็นฝูงปลาเล็กใหญ่วูบไหวอยู่ใต้น้ำ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติกำลังเพลิดเพลินให้อาหารปลาอยู่ตรงศาลาริมหนอง บนถนนเลียบหนองด้านหน้าวัดจองกลางป้ามะขิ่นกับลุงเอกำลังนำ “ถั่วพูคั่ว” และของกินไทยใหญ่อื่น ๆ ออกมาวางขายหน้าร้านอย่างแข็งขัน ส่วนตุ๊ปีพร้อมกับพระเณรรูปอื่น ๆ กำลังยุ่งอยู่กับการจัดเรียงโคมลอยอยู่ตรงโต๊ะภายในวัดจองกลางบริเวณที่ผมได้ไปนั่งพูดคุยกับหลวงพี่ท่านเมื่อบ่ายวันนี้ การได้พูดคุยกับผู้รู้ทั้งสอง ป้ามะขิ่นและตุ๊ปี นอกจากจะได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารการกินของชาวไทยใหญ่และประเพณีการทำจองพาราแล้ว ผมยังสัมผัสถึงงานศิลปะของความพิถีพิถันในการสรรสร้างความเป็นไทยใหญ่ให้ก่อเกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของกลุ่มชนที่ร่ำรวยด้วยพลังศรัทธาในพระพุทธศาสนา นอกจากนั้น วัฒนธรรมประเพณีเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวไทยใหญ่ได้อย่างชัดเจน การได้ลองพูดคุยกับชาวไทยใหญ่หรือชนกลุ่มอื่นถึงสิ่งที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ที่เด่นชัด เราจะค้นพบว่าคุณค่าวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละชาติพันธ์นั้นล้วนน่าศึกษาและต้องอนุรักษ์ไว้อย่างเหนียวแน่นด้วยชีวิตจิตใจ ไม่ควรเฉพาะเจาะจงไปว่าจะต้องเป็นหน้าที่รับผิดชอบของกลุ่มคนที่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีนั้นนั้นอย่างเดียวแต่ทุกคนล้วนมีส่วนรับผิดชอบร่วมกันในการรักษา “สมบัติโลก” นี้ไว้เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็น “มนุษย์ผู้มีอารยธรรม”โดยแท้จริง.